เมนู

3. อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ โทมนัสที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่เป็นนิยตธรรม.
มิจฉาทิฏฐิที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่เป็นนิยตธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

มี 5 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[845] 1. นิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม แก่ปิตุฆาตกรรม แก่
อรหันตฆาตกรรม แก่รุหิรุปปาทกรรม แก่สังฆเภทกรรม แก่มิจฉาทิฏฐิ
ที่เป็นนิยตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พึงกระทำจักรนัย.
ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค, ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่
ตติยมรรค, ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.
2. นิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์แล้ว ย่อมให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ
กระทำอุโบสถกรรม ฯลฯ เพื่อลบล้างอกุศลกรรมนั้น.
พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นให้
เกิดขึ้น ย่อมเข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ เป็นปัจจัยแก่ฐานาฐานโกสัลละ.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นอนิยตธรรม ย่อมให้ทาน ฯลฯ ศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ยังฌาน ฯลฯ ยังวิปัสสนา ฯลฯ ยังอภิญญา ฯลฯ ยัง
สมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความ
ปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ฆ่าคนในนิคม ฯลฯ
ศรัทธาที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
อนิยตธรรม ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผล
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยราคะที่เป็นอนิยตธรรมแล้ว ปลงชีวิตมารดา ฯลฯ
ทำลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยโทมนัสที่เป็นอนิยตธรรม ฯลฯ เสนาสนะแล้ว
ปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ราคะที่เป็นอนิยตธรรม โทมนัส ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่
มาตุฆาตกรรม ฯลฯ แก่สังฆเภทกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรม
แห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[846] 1. อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
2. อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม แก่ปิตุฆาตกรรม แก่
อรหันตฆาตกรรม แก่รุหิรุปปาทกรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนิยตธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย มี 2 วาระ.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ 12. อาเสวนปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ.